วันศุกร์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2554

การใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน

0 ความคิดเห็น
  

               การ พัฒนาที่ยั่งยืนจะเกิดขึ้นได้ต้องอาศัยความร่วมมือของมนุษย์ด้วยกันเอง คือมนุษย์ต้องตระหนักว่า การพัฒนาสังคมให้เจริญก้าวหน้าได้จําเป็นต้องพัฒนาให้สมดุลทั้งทางด้าน เศรษฐกิจคุณภาพชีวิต รวมทั้งการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมด้วย ซึ่งมีหลักการสําคัญของการใช้ประโยชน์ทรัพยากรอย่างยั่งยืนในสาขาต่างๆ ดังนี้
               1. หลักการใช้ประโยชน์ทรัพยากรป่าไม้อย่างยั่งยืน ในการจัดการป่าไม้ต้องคํานึงถึงความยั่งยืนของศักยภาพการอํานวยน้ำ ความยั่งยืนของสิ่งมีชีวิตต่างๆ ภายในระบบนิเวศ โดยที่ยังคงเอื้อประโยชนให้แก่ประชาชน นักวิทยาศาสตร์ และนักท่องเที่ยวต่อไปได้ ในเรื่องนี้คงจะต้องมีการจัดสรรพื้นที่การใช้ประโยชน์ให้เหมาะสม จะต้องมีการควบคุมการใช้ประโยชน์ในแต่ละประเภทให้มีความรัดกุม ชัดเจนเพียงพอที่จะนําไปปฏิบัติ รวมทั้งต้องหามาตรการให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์และได้ประโยชน์ไปพร้อมๆ กัน
               2. หลักการใช้ประโยชน์ทรัพยากรประมงอย่างยั่งยืน ทรัพยากรประมงเป็นทรัพยากรที่มีลักษณะเฉพาะตัว คือเป็นสาธารณสมบัติ (Commen Property) ดังนั้นทุกคนจึงมีเสรีภาพในการที่จะเข้าไปเก็บเกี่ยวใช้ประโยชน์จากทรัพยากร นี้ สําหรับข้อเสนอในการควบคุมการใช้ทรัพยากรประมงก็คือ การควบคุมอาชญาบัตรประมง เป็นต้น นอกจากนี้การอนุรักษ์ทรัพยากรประมงที่สําคัญอีกประการหนึ่ง ก็คือการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพของสิ่งมีชีวิตในทะเล โดยจะต้องคุ้มครองให้สิ่งมีชีวิตเหล่านั้นสามารถสืบทอดลูกหลานต่อไปได้ ดังนั้นในการอนุรักษ์ทรัพยากรการประมงจึงจําเป็นต้องศึกษาและกําหนดอาณาเขต พร้อมทั้งควบคุมการใช้ ประโยชน์ พื้นที่ดังกล่าวให้เหมาะสมอีกด้วย
               3. หลักการทําการเกษตรแบบยั่งยืน ปัจจัยที่มีผลให้เกิดระบบเกษตรแบบยั่งยืน มี 2ประการ คือ
                    - ความหลากหลายทางชีวภาพ (Diversity) ของสิ่งมีชีวิตทั้งพืชและสัตว์ที่อาศัยอยู่ในระบบนิเวศเกษตร (Agro-ecosystem) นั้นๆ
                    - ความผสมกลมกลืน ((Harmonization) โดยอาศัยความหลากหลายที่เกิดขึ้นในระบบเกษตรนั้น จะต้องมีความผสมกลมกลืนกัน ในการอาศัยพึ่งพาเกื้อกูลซึ่งกันและกันภายใต้ สถานการณ์ปัจจุบันเกษตรกรจึงต้องเผชิญหน้ากับปัญหาความเสื่อมโทรมของดิน ปัญหาวัชพืช ปัญหาโรคพืชและแมลงศัตรูพืช ดังนั้นการปรับเปลี่ยนแบบแผนการผลิตโดยสร้างความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตใน ระบบการผลิตและระบบนิเวศเกษตรจึงมีความจําเป็น ดังนั้นระดับที่เกษตรกรแต่ละรายปรับเปลี่ยนได้ก็จะแตกต่างกันไป บางรายอาจจะนําแบบแผนเก่ากลับมาใช้ได้ บางรายอาจจะปรับสู่ระบบเกษตรผสมผสานที่มีกิจกรรมเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์ที่ เกื้อกูลกัน มีการปรับพื้นที่ เช่น ยกร่อง ขุดบ่อปลามีการทําสวนผลไม้ ปลูกผัก และเลี้ยงสัตว์ รวมถึงการทํานาในอาณาบริเวณที่ใกล้เคียงกัน บางรายที่มีข้อจํากัดในการปรับพื้นที่ และไม่พร้อมที่จะเลี้ยงสัตว์ ก็อาจจะใช้ระบบวนเกษตร ซึ่งอาศัยการพึ่งพากันระหว่างพืชและเน้นความหลากหลายของพืชเป็นหลัก
              4. หลักการพัฒนาอุตสาหกรรมแบบยั่งยืน วิธีการลดมลพิษในระบบการผลิตนั้น อาจทําได้ดังนี้
                    - การจัดการที่ดีในการควบคุมตรวจสอบการทํางานของระบบการผลิตให้เกิดของเสียน้อยที่สุด
                    - เปลี่ยนวัสดุการใช้หรือปัจจัยการผลิต หรือเปลี่ยนสูตรการผลิตที่ก่อมลพิษ
                    - ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงเครื่องจักรการผลิตประสิทธิภาพสูงขึ้น
                    - หมุนเวียนนําวัสดุกลับมาใช้ใหม่จากของเสียอุตสาหกรรมในประเทศไทยปัญหาใน การกําจัดของเสียจากโรงงานอุตสาหกรรมก็ยังคงมีอยู่ เพราะว่าเป็นค่าใช้จ่ายที่สูงมาก เงื่อนไขที่สําคัญที่จะนําไปสู่การพัฒนาอุตสาหกรรมแบบยั่งยืน คือความสามารถทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของไทยที่จะจัดการของเสียของตนเอง เพื่อลดความจําเป็นในการนําเข้าเครื่องจักรกลและเทคโนโลยีราคาแพงจากต่าง ประเทศลง
               5. หลักการใช้พลังงานอย่างยั่งยืน ทุกๆ ส่วนในสังคมจะต้องร่วมกันหามาตรการและเป็นผู้ดําเนินการใช้พลังงานอย่างประหยัด
               6. หลักการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติให้ยั่งยืน การควบคุมการใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติที่ประสานกลมกลืนกับธรรมชาติ เปิดโอกาสให้กลไกของธรรมชาติดําเนินไปได้อย่างต่อเนื่อง โดยสามารถรักษาความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศนั้นให้ดํารงอยู่ได้ ในการใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืน จะต้องคํานึงถึงการย่อยสลายในระบบนิเวศด้วย เพราะกระบวนการย่อยสลายจะเป็นกระบวนการสําคัญในการทําให้ทรัพยากรเหล่านั้น ได้รับการหมุนเวียนกลับมาใช้ใหม่จึงเป็นเรื่องจําเป็นที่รัฐบาลจะต้องกําหน ดแนวทางในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติให้ชัดเจน โดยจําแนกทรัพยากรตามศักยภาพการใช้ประโยชน์และคุณค่าทางนิเวศวิทยาถ้าเรา สามารถใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืน เราก็จะสามารถมีชีวิตอยู่ร่วมกับสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ได้อีกมาก ความอุดมสมบูรณ์ของแม่น้ำและดิน ความสดชื่นของอากาศและความสวยงามตามธรรมชาติก็คงจะหวนกลับมาและอยู่กับลูก หลานของเราได้ต่อไป
               7. การพัฒนาการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน หมายถึงการพัฒนาที่สามารถตอบสนองความต้องการของนักท่องเที่ยว และผู้เป็นเจ้าของท้องถิ่นในปัจจุบัน โดยมีการปกป้องและสงวนรักษาโอกาสต่างๆ ของอนุชนรุ่นหลังด้วย การท่องเที่ยวนี้มีความหมายรวมถึงการจัดการทรัพยากรเพื่อตอบสนองความจําเป็นทางเศรษฐกิจ สังคมและความงามทางสุนทรียภาพ ในขณะที่สามารถรักษาเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมและระบบนิเวศด้วย โดยแนวทางการสร้างกรอบนโยบายและแนวทางปฏิบัติดังนี้
                    - มุ่งพัฒนาการท่องเที่ยวในประเทศก่อนการท่องเที่ยวระหว่างประเทศ
                    - ต้องคํานึงถึงขีดความสามารถในการรองรับ (Carrying capacity) ทุกๆ ด้าน
                    - ประชาชนในท้องถิ่นจะต้องมีส่วนร่วมในการตัดสินใจในโครงการต่างๆ ที่จะมีผลกระทบต่อวิถีชีวิตของคนส่วนใหญ่ในพื้นที่ (Local participation)
                    - มุ่งใช้วัสดุและผลิตภัณฑ์ในท้องถิ่น (Local product)
                    - เน้นกระจายรายได้สู้ท้องถิ่น
                    - คุณค่าของสิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรมนั้นเป็นคุณค่าที่มีอยู่ในตัวเอง
                    - การปรับตัวเปลี่ยนแปลงนั้นเป็นสิ่งจําเป็น แต่ทั้งนี้ต้องไม่ขัดกับหลักการดังกล่าวข้างต้น
                    - ภาคธุรกิจการท่องเที่ยว องค์กรด้านสิ่งแวดล้อมและรัฐมีหน้าที่จะต้องทํางานร่วมกันอย่างเสมอภาค และวางอยู่บนหลักการข้างต้น

วัฏจักรของสาร

0 ความคิดเห็น
วัฎจักรของสาร
แร่ธาตุและสารต่างๆ ที่เป็นองค์ประกอบทางกายภาพในระบบนิเวศ ได้แก่ ออกซิเจน คาร์บอนไดออกไซด์ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และน้ำ เป็นสิ่งจำเป็นต่อการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตในธรรมชาติ แร่ธาตุและสารต่างๆ จะมีปริมาณคงที่และสมดุล สิ่งมีชีวิตใช้สารเหล่านี้ในกระบวนการดำรงชีวิต และการปล่อยสารดังกล่าวกลับคืนสู่ธรรมชาติหมุนเวียนกันเป็นวัฎจักรดังนี้
1. การหมุนเวียนของน้ำในระบบนิเวศ
พื้นผิวของโลกประกอบด้วยแหล่งน้ำประมาณ 3ใน4 ส่วน น้ำเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งต่อสิ่งมีชีวิต ทุกชนิด เพราะน้ำเป็นองค์ประกอบส่วนใหญ่ของเซลล์ เป็นตัวกลางสำคัญของกระบวนการต่างๆ ในสิ่งมีชีวิต และเป็นแหล่งที่อยู่ดังแผนภาพ
2. การหมุนเวียนก๊าซไนโตรเจนในระบบนิเวศ
สารประกอบไนโตรเจนจะมีอยู่ในดิน ในน้ำ และเป็นองค์ประกอบหลักของอากาศที่ห่อหุ้มโลก เป็นแร่ธาตุหลักสำคัญ 1 ใน 4 ธาตุที่สิ่งมีชีวิตทุกชนิดต้องการ เพื่อนำไปสร้างโปรตีนสำหรับ การเจริญเติบโตในรูปของสารประกอบไนโตรเจน การหมุนเวียนของไนโตรเจนจึงต้องผ่านสิ่ง มีชีวิตเสมอ ดังภาพ
3. การหมุนเวียนของคาร์บอนในระบบนิเวศ
คาร์บอน (C) เป็นธาตุสำคัญที่เป็นองค์ประกอบสำคัญของอินทรีย์สารในร่างกายสิ่งมีชีวิต เช่น คาร์โบไฮเดรต โปรตีน ไขมัน ฯลฯ และเป็นสารอินทรีย์ที่มีอยู่ในระบบนิเวศ ในบรรยากาศ มี ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญที่พืชนำมาใช้ในกระบวนการ สังเคราะห์แสง ในระบบนิเวศการหมุนเวียนของคาร์บอนต้องผ่านสิ่งมีชีวิตเสมอ แต่คาร์บอนในธรรมชาติเกิด จากการสะสมของตะกอนซากพืชซากสัตว์ใต้ผิวโลก เป็นเวลานานจนมีการเปลี่ยนสภาพเป็น ถ่านหินและปิโตรเลียม ซึ่งเป็นพลังงานแหล่งใหญ่ เมื่อมีการนำมาใช้ประโยชน์เป็นเชื้อเพลิงก็ จะมีการคืนคาร์บอนกลับสู่บรรยากาศในรูปของคาร์บอนไดออกไซด์ และหมุนเวียนกลับให้พืช นำไปใช้ประโยชน์ต่อไป ดังนั้นคาร์บอนจึงหมุนเวียนเป็นวัฎจักรที่อยู่ในระบบนิเวศอย่างสมดุล ดังภาพ
4. การหมุนเวียนฟอสฟอรัสในระบบนิเวศ
ฟอสฟอรัสเป็นธาตุสำคัญ 1 ใน 3 ชนิด สำหรับการเจริญเติบโตของพืช ในสัตว์ ฟอสฟอรัสเป็น ธาตุสำคัญต่อการสร้างโครงสร้างของร่างกายให้แข็งแรง เป็นส่วนประกอบที่สำคัญของกระดูก และฟันเกี่ยวข้องกับการใช้พลังงานของเซลล์
ในระบบนิเวศการหมุนเวียนฟอสฟอรัสโดยพืชนำฟอสฟอรัสจากธรรมชาติเข้ามาในลักษณะ ของสารประกอบฟอสเฟตที่ละลายน้ำได้ แล้วนำไปสะสมไว้ในเซลล์ต่างๆ เมื่อสัตว์กินพืชก็จะ ได้รับฟอสฟอรัส โดยผ่านกระบวนการกินเข้าสู่ร่างกาย สัตว์นำฟอสฟอรัสที่ได้ไปสร้างกระดูก และฟัน และใช้ในขบวนการอื่นๆ เมื่อสัตว์และพืชตายลง ซากพืชซากสัตว์จะทับถมลงสู่ดิน ฟอสฟอรัสบางส่วนพืชจะดูดซึมไปใช้ใหม่ บางส่วนถูกแบคทีเรียบางกลุ่มที่อยู่ในดิน ย่อยสลาย เป็นกรดฟอสฟอริก ทำปฏิกิริยากับสารในดิน เกิดเป็นสารประกอบฟอสฟอรัส กลับคืนไปทับถม เป็นหินฟอสเฟต ในดิน ในน้ำ ในทะเล และมหาสมุทร โดยเฉพาะในทะเล สารประกอบของฟอสฟอรัสจะรวมกับ ซากของหินปะการัง เปลือกหอย และโครงกระดูกสัตว์ต่างๆ เมื่อผ่านกระบวนการสึกกร่อนตาม ธรรมชาติ แพลงตอนพืชและสัตว์ในทะเลนำเอาสารประกอบของฟอสฟอรัสดังกล่าวไปใช้เป็น ห่วงโซ่อาหารและสายใยอาหารในทะเลและมหาสมุทรต่อไป ฟอสฟอรัสก็จะหมุนเวียนคืนสู่ ธรรมชาติเป็นวัฎจักรเช่นนี้ไปไม่มีที่สิ้นสุด ดังแผนภาพ
การหมุนเวียนสารในระบบนิเวศในธรรมชาติไม่ได้แยกจากกัน โดยสิ้นเชิง แต่ธาตุต่างๆ และ สารประกอบจะถ่ายเทไหลเข้าและออกร่วมกันอยู่ภายในระบบนิเวศ ดังตัวอย่างของการหมุน เวียนแร่ธาตุในระบบนิเวศป่าไม้ มีการเคลื่อนตัวของแร่ธาตุต่างๆ เข้าและออกจากระบบ ส่วน ใหญ่แร่ธาตุในดินจะไหลเข้าสู่ระบบโดยผ่านทางน้ำฝน ส่วนที่หมุนเวียนอยู่ภายในสิ่งมีชีวิตจะ เริ่มจากการที่พืชได้รับแร่ธาตุ ซึ่งพืชดูดเข้ามาทางรากและลำเลียงขึ้นไปบนเรือนยอดเพื่อการ สังเคราะห์สาร แร่ธาตุดังกล่าวจะสะสมในใบและส่วนต่างๆ เมื่อกิ่งไม้และใบไม้หลุดร่วงลงสู่ พื้นดิน ก็จะเน่าเปื่อยและถูกย่อยสลายโดยกลุ่มผู้ย่อยสลายอินทรีย์สาร ทำให้แร่ธาตุที่สะสมใน พืชกลับคืนสู่ดินและสะสมอยู่ในดินเป็นปริมาณมาก ในที่สุดก็จะหมุนเวียนกลับไปสู่พืชเรือนยอด อีก
ระบบนิเวศทุกระบบในโลกของสิ่งมีชีวิต เป็นโครงสร้างที่แสดงถึงความสัมพันธ์ในแง่การถ่าย ทอดพลังงานที่อยู่ในโมเลกุลของสาร ระหว่างกลุ่มสิ่งมีชีวิตที่เป็นผู้ผลิต ผู้บริโภคพืช ผู้บริโภค สัตว์ผู้ย่อยสลายอินทรีย์สาร และยังมีความสัมพันธ์ในแง่ของการหมุนเวียนสารระหว่างสิ่งมีชีวิต กับสิ่งแวดล้อม

ภาพประกอบแสดงการหมุนเวียน
ภาพแสดงการหมุนเวียนของไนโตรเจน
ภาพแสดงการหมุนเวียนของคาร์บอน
ภาพแสดงการหมุนเวียนของฟอสเฟอรัส