วันศุกร์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2554

ความหลากหลายทางชีวภาพ

ความหมายและความสำคัญของความหลากหลายทางชีวภาพ
       สิ่ง มีชีวิตที่ปรากฏอยู่ในโลกปัจจุบันมีความหลากหลาย  ทั้งที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงวิวัฒนาการทั้งของสิ่งมีชีวิต และสิ่งแวดล้อมควบคู่กัน  โดยมีอยู่ประมาณ 3 - 5 ล้านชนิด ย่อมสะท้อนให้เห็นถึงความหลากหลายทางนิเวศวิทยาและแหล่งที่อยู่อาศัยอันเกิด จากผลกระทบย้อนกลับไปกลับมาระหว่างสิ่งมีชีวิตกับสภาวะแวดล้อม  อาจกล่าวได้ว่าการเกิดความหลากหลายของสภาะวแวดล้อมเอื้ออำนวยให้เพิ่มความ หลากหลายของสิ่งมีชีวิตชนิดต่างๆ เป็นเงาตามตัวไปด้วย อย่างไรก็ตามธรรมชาติย่อมมีความสมดุลเกิดขึ้นเสมอ ดังนั้น การเพิ่มความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตจึงถูกจำกัดด้วยกระบวนการธรรมชาติ บางอย่าง โดยเฉพาะการสูญพันธ์
                                                                                                                                                                                                                                           
ความหลากหลายของไทยและท้องถิ่น        ความ หลากหลายทางชีวภาพมีความหมายกว้างขวางครอบคลุมถึงความหลากหลายของสิ่งมี ชีวิตนานาชนิด ไม่ว่าจะเป็นจุลินทรีย์ พืช สัตว์ รวมทั้งมนุษย์ สิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดล้วนแต่มีองค์ประกอบทางพันธุกรรมที่แตกต่างแปรผันกัน ออกไปมากมาย เพื่อให้เกิดความสอดคล้องเหมาะสมกับสภาพแหล่งที่อยู่อาศัยในแต่ละท้องถิ่น  อันเป็นระบบนิเวศที่ซับซ้อนและหลากหลายในบริเวณต่างๆ ของโลก ความหลากหลายทางชีวภาพเป็นผลที่เกิดจากกระบวนการวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต และมีความสำคัญต่อมนุษย์ทั้งโดยทางตรงและทางอ้อม  เพราะธรรมชาติของสิ่งมีชีวิตนานาชนิดเป็นแหล่งทรัพยากรธรรมชาติที่จำเป็น สำหรับปัจจัยสี่  ช่วยค้ำจุนให้มนุษย์ดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างปกติสุข  แต่ในขณะเดียวกันมนุษย์ก็มีพฤติกรรมและกิจกรรมในลักษณะคล้ายกับ " ทุบหม้อข้าวตัวเอง "โดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์และขาดความยั้งคิด เพราะมนุษย์ยุคปัจจุบันได้ทำลายความหลากหลายทางชีวภาพในแหล่งต่างๆ ทั่วโลก  ดังนั้นเราจำเป็นต้องศึกษาหาความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับความหลากหลายทาง ชีวภาพในมุมต่างๆ ให้ถ่องแท้ เพื่อจะได้หาแนวทางจัดการกับความหลากหลายทางชีวภาพที่มีอยู่ในโลกนี้ให้ เหมาะสมและก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อมวลมนุษยชาติ  เราสามารถจำแนกความหลากหลายทางชีวภาพออกเป็นประเภทต่างๆ ดังนี้
      
 1. ความหลากหลายของสิ่งมีชีวิต        2. ความหลากหลายของระบบนิเวศ        3. ความหลากหลายของพันธุกรรม
       4. ความหลากหลายทางทรัพยากรพันธุ์พืช           
                                                                                                                                                                                                                                               
ความหลากหลายของสิ่งมีชีวิต
       ใน โลกเรามีสิ่งมีชีวิตอยู่มากมายหลายล้านชนิด แต่มีเพียงไม่ถึงร้อยละ .01 ที่เรารู้จัก  ข้อเท็จจริงดังกล่าวสะท้อนให้เห็นถึงความไม่เอาใจใส่และด้อยในความรู้ของ มนุษย์เกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตอื่นที่อยู่ร่วมโลก  ป่าชื้นเขตร้อนเป็นแหล่งที่อุดมสมบูรณ์และเอื้ออำนวยให้มีความหลากหลายของ สิ่งมีชีวิตมากมาย  เสมือนเป็นศูนย์กลางแห่งความหลากหลายทางชีวภาพที่สมควรได้รับความสนใจดูแล รักษาสภาพไว้ให้เป็นสมบัติล้ำค่าของประเทศและของโลก  แต่คงมีสิ่งมีชีวิตจำนวนไม่น้อยในป่าชื้นเขตร้อนที่ถูกทำลายสูญหายไปจากโลก นี้อย่างไม่มีวันกลับด้วยน้ำมือมนุษย์  จะโดยจงใจหรือไม่ก็ตาม  ทั้งๆ ที่สิ่งมีชีวิตที่สูญพันธุ์ไปแล้วนั้นอาจมีประโยชน์ต่อมนุษยชาติอย่างมหาศาล  หากว่ามนุษย์จะได้รู้จักและศึกษาหาความรู้เสียก่อน
                                                                                                                                                                                                                                               
ความหลากหลายของระบบนิเวศ
       
ระบบ นิเวศประกอบด้วยสิ่งมีชีวิตนานาชนิดและรูปแบบต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นพืช สัตว์ จุลินทรีย์ที่อยู่รวมกันบริเวณใดบริเวณหนึ่ง โดยสิ่งมีชีวิตเหล่านั้นสามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาวะแวดล้อมรอบๆ ตัวได้ การปรับตัว เปลี่ยนแปลงบางอย่างของสิ่งมีชีวิตอาจเกิดขึ้นภายในหนึ่งชั่วอายุ หรือยาวนานหลายชั่วอายุ โดยผ่านการคัดเลือกตามธรรมชาติ ตามกระบวนการวิวัฒนาการ คุณสมบัติ และความสามารถของสิ่งมีชีวิต  สิ่งมีชีวิตและสภาวะแวดล้อมต่างก็มีบทบาทร่วมกัน และมีปฏิกริยาต่อกันและกันอย่างซับซ้อนในระบบนิเวศที่สมดุล  โครงสร้างและคุณสมบัติของระบบนิเวศเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยให้สิ่งมีชีวิตชนิด ต่างๆ รวมทั้งมนุษย์อยู่ร่วมกันได้อย่างสมดุล เมื่อความเจริญและอารยธรรมของมนุษย์ได้มาถึงจุดสุดยอดและเริ่มเสื่อมลงเพราะ มนุษย์เริ่มทำลายสิ่งมีชีวิตชนิดอื่น ที่เคยช่วยเหลือสนับสนุนตนเองมาโดยตลอด ไม่ว่าจะเป็นด้านอาหาร ที่อยู่อาศัย เครื่องนุ่งห่ม ยารักษาโรค หรือการแสวงหาความสุขและความบันเทิงบนความทุกข์ยากของสิ่งมีชีวิตอื่น จนทำให้เกิดการเสียสมดุลของระบบนิเวศ ซึ่งนำไปสู่ความเสียหายอย่างใหญ่หลวงของสรรพสิ่งทั้งมวล
           การที่สิ่งมีชีวิตชนิดต่างๆ ถูกทำลายสูญหายไปจากโลก จะเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยเร่งให้อัตราการสูญพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตนานาชนิดที่เหลืออยู่เพิ่มมากขึ้นเป็นทวีคูณ อันเนื่องมาจากการเสียดุลของระบบนิเวศนั้นเอง อัตราการสูญพันธุ์อาจแตกต่างกันไปในแต่ละระบบนิเวศ จะมีทางเป็นไปได้มากน้อยเพียงใดหรือไม่ที่มนุษย์จะนำเอาความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาใช้ในการปรับปรุง หาสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นมาทดแทนสิ่งมีชีวิตที่สูญพันธุ์ไป ทั้งนี้เพราะการสูญเสียแหล่งสะสมความแปรผันทางพันธุกรรม อันถือว่าเป็นขุมทรัพย์ล้ำค่าของประชากรสิ่งมีชีวิตนั้น จะเป้ฯการส่งเสริมให้มีการทำลายความหลากหลายทางชีวภาพของระบบนิเวศนั้นๆ มากขึ้น
                                                                                                                                                                                                                                           
astronomy_up.gif
 ความหลากหลายของพันธุกรรม         กระบวน การเปลี่ยนแปลงวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตโดยการคัดเลือกตามธรรมชาติ ขึ้นอยู่กับปัจจัยสำคัญ คือ องค์ประกอบทางพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิตนั้นกับสภาวะแวดล้อม ความหลากหลายของพันธุกรรมเป็นรากฐานสำคัญของสิ่งมีชีวิตทุกชนิด เพื่อเอื้ออำนวยให้สิ่งมีชีวิตดำรงชีวิตให้สอดคล้องกับสภาพการเปลี่ยนแปลง ของสิ่งแวดล้อมรอบๆ ตัวได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งการหลีกเลี่ยงศัตรู การต่อต้านโรคภัยไข้เจ็บ ความหลากหลายของพันธุกรรมภายในประชากรที่อาศัยอยู่ตามแหล่งต่างๆ ของสปีชีว์หนึ่ง ยังช่วยเพิ่มศักยภาพของประชากรสปีชีส์นั้น ให้สามารถวิวัฒนาการเปลี่ยนแปลง และตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของสภวะแวดล้อมต่างๆ กัน ได้อย่างเหมาะสมในระยะยาวอีกด้วย
           ผลกระทบที่เด่นชัดที่สุดของประชากรธรรมชาติที่ขาดแคลนความหลาก หลายของพันธุกรรม คือ การนำไปสู่ภาวะโฮโมไซโกซิตี้ ( ภาวะพันธุ์แท้ คือ ประชากรมีการผสมตัวเองมากขึ้น ก่อให้เกิดพันธ์แท้ ซึ่งอาจมียีนส์ที่เป็นอันตรายต่อการอยู่รอดของประชากร ) นอกจากนั้นประชากรที่ขาดความผันแปรทางพันธุกรรม ยังมีส่วนเกี่ยวข้องกับการลดประสิทธิภาพของการอยู่รอด และความสมบูรณ์ในการสืบพันธุ์ด้วย ผลกระทบต่างๆ ดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของภาวะความกดดันของการผสมภายในสายพันธุ์ ซึ่งจะส่งผลให้เกิดการสูญเสียความยืดหยุ่นทางวิวัฒนาการอย่างแน่นอน
       การคัดเลือกและเก็บรักษาพันธุ์พืชหรือสัตว์เพื่อการเกษตรกรรม จะทำให้เกิดการสูญเสียความหลากหลายของพันธุกรรม อันอาจก่อให้เกิดผลร้ายตามมา  ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญของมนุษย์ในความพยายามที่จะเอาชนะธรรมชาติ แต่ก็ต้องพบกับอุปสรรคที่เกิดจากธรรมชาตินั่นเอง
                                                                                                                                                                                                                                              
astronomy_up.gif
 ความหลากหลายทางทรัพยากรพันธุ์พืช
           ความหลากหลายทางทรัพยากรพันธุ์พืช หมายถึง พืชนานาชนิดที่ขึ้นอยู่ทั่วไป โดยมีความหลากหลายทั้งระบบนิเวศ และ/หรือถิ่นที่พืชขึ้นอยู่ ได้แก่ สภาพป่าชนิดต่างๆ หรือระบบนิเวศ ความหลากหลายของชนิดพรรณ ได้แก่ จำนวนชนิดพรรณพืชที่มีอยู่แต่ละแหล่ง และความหลากหลายทางพันธุกรรม ได้แก่ ความแตกต่างทางสายพันธุ์ของพืชในแต่ละชนิด
           ทรัพยากรพันธุ์พืช คือ แหล่งปัจจัยสี่ที่สำคัญของมวลมนุษยชาติทั่วโลก มนุษย์จำเป็นต้องอาศัยพืชไม่โดยทางตรงก็ทางอ้อม  เพื่อใช้เป็นอาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย ยารักษาโรค ดังนั้น ทรัพยากรพันธุ์พืชจึงมีความสำคัญอย่างมาก ทั้งด้านเกษตรกรรม ป่าไม้ อุตสาหกรรม สิ่งแวดล้อม ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าที่ใดมีความหลากหลายทางทรัพยากรพันธุ์พืชมากก็จะมี โอกาสได้ใช้ประโยชน์มากเช่นกัน
           การรักษาสายพันธุ์ของทรัพยากรพันธุ์พืชสามารถกระทำได้หลายวิธี และวิธีที่ดีที่สุด คือ การศึกษาถึงความหลากหลายทางพันธุกรรมของป่าแต่ละแห่ง และประกาศให้ป่านั้นเป็นเขตหรือพื้นที่อนุรักษ์พันธุ์พืชในถิ่นเดิม และห้องกันรักษาอย่างเข้มงวด ในกรณีจำเป็นหรือในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงล่อแหลมต่อการถูกทำลายพันธุกรรม ที่ใกล้จะสูญพันธุ์ อาจมีการเคลื่อนย้ายสายพันธุ์รวมของพืชที่สำคัญแต่ละชนิดในพื้นที่นั้น โดยกระจายการสุ่มเก็บเมล็ดพันธุ์ให้ทั่วพื้นที่มากที่สุด นำมาคละเคล้ากันแล้วนำไปปลูกในถิ่นที่มีสภาพแวดล้อมใกล้เคียงกับสภาพเดิม เป็นการอนุรักษ์สายพันธุ์นอกถิ่นเดิม
                                                                                                                                                                                                                                               
astronomy_up.gif
ความหลากหลายทางชีวภาพของประเทศไทยและท้องถิ่น
        นักวิชาการประมาณการว่ามีสิ่งมีชีวิตในโลกนี้มีประมาณ 5 ล้านชนิด ในจำนวนนี้มีอยู่ในประเทศไทย ประมาณร้อยละเจ็ด ประเทศไทยมีประชากรเพียงร้อยละหนึ่ง ของประชากรโลก ดังนั้น เมื่อเทียบสัดส่วนกับจำนวนประชากร ประเทศไทยจึงนับว่ามีความร่ำรวยอย่างมากในด้านความหลากหลายของสิ่งมีชีวิต
       สิ่งมีชีวิตในประเทศไทยหลากหลายได้มาก เนื่องจากมีสภาพทางภูมิศาสตร์ที่หลากหลายและแต่ละแหล่งล้วนมีปัจจัยที่เอื้อ ต่อการเจริญเติบโตของสิ่งมีชีวิต นับตั้งแต่ภูมิประเทศแถบชายฝั่งทะเล ที่ราบลุ่มแม่น้ำ ที่ราบลอนคลื่น และภูเขาที่มีความสูงหลากหลายตั้งแต่เนินเขาจนถึงภูเขาที่สูงชันถึง 2,400 เมตรจากระดับน้ำทะเล ประเทศไทยจึงเป็นแหล่งของป่าไม้นานาชนิด ได้แก่ ป่าชายเลน ป่าพรุ ป่าเบญจพรรณ ป่าดิบ และป่าสนเขา
       อย่างไรก็ตาม ในระยะเวลา 30 ปีที่ผ่านมา ประเทศไทยสูญเสียพื้นที่ป่าเป็นจำนวนมหาศาล เนื่องจากหลายสาเหตุด้วยกัน อาทิ การเพิ่มของประชากรทำให้มีการบุกเบิกป่าเพิ่มขึ้น การให้สัมปทานป่าไม้ที่ขาดการควบคุมอย่างเพียงพอ การตัดถนนเข้าพื้นที่ป่า การเกษตรเชิงอุตสาหกรรม การแพร่ของเทคโนโลยีที่ใช้ทำลายป่าได้อย่างรวดเร็ว การครอบครองที่ดินเพื่อเก็งกำไร เป็นต้น พื้นที่ป่าไม้ซึ่งเคยมีมากถึงประมาณ 2.7 แสนตารางกิโลเมตร หรือประมาณร้อยละ 53 ของพื้นที่ประเทศไทยในปี พ.ศ. 2504 เหลือเพียงประมาณ 1.3 แสนตารางกิโลเมตร หรือประมาณร้อยละ 26 ในปี พ.ศ. 2536 ข้อมูลนี้จากการศึกษาตามโครงการ VAP61 โดยคณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, 2539) แสดงว่าพื้นที่ป่าไม้ลดลงเท่าตัวในช่วงเวลา 32 ปี และส่วนใหญ่ เกิดขึ้นกับป่าบนภูเขาและป่าชายเลน ยังผลให้พืชและสัตว์สูญพันธุ์ อาทิ เนื้อสมัน แรด กระซู่ กรูปรี และเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ในอนาคตอันใกล้นี้อีกเป็นจำนวนมาก อาทิ ควายป่า ละอง ละมั่ง เนื้อทราย กวางผา เลียงผา สมเสร็จ เสือลายเมฆ เสือโคร่ง และช้างป่า รวมทั้งนก สัตว์ครึ่งน้ำครึ่งบก สัตว์เลื้อยคลาน แมลง และ สัตว์น้ำอีกเป็นจำนวนมาก
       การทำลายป่าก่อให้เกิดวิกฤตการณ์ทางธรรมชาติเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ แหล่งน้ำที่เคยอุดมสมบูรณ์ เริ่มลดน้อยลง ผืนป่าที่เหลืออยู่ไม่สามารถซับน้ำฝนที่ตกหนัก เกิดปรากฏการณ์น้ำท่วมฉับพลัน ยังผลให้เกิดความเสียหายแก่เศรษฐกิจ บ้านเรือน และความปลอดภัยของชีวิตคนและสัตว์เป็นอันมาก เช่น เหตุการณ์น้ำท่วมที่ อำเภอพิปูน จังหวัดนครศรีธรรมราช เหตุการณ์พายุเกย์ถล่มจังหวัดชุมพร และเหตุการณ์น้ำท่วมในที่ต่างๆ เป็นต้น
       ปัญหาความหลากหลายทางชีวภาพในประเทศไทย จึงเป็นปัญหาใหญ่และเร่งด่วนที่จะต้องช่วยกันแก้ไขด้วยการหยุดยั้งการสูญเสียระบบนิเวศป่าทุกประเภท การอนุรักษ์สิ่งที่เหลืออยู่ และการฟื้นฟูป่าเสื่อมโทรมให้กลับคืนสู่สภาพป่าที่มีความหลากหลายทางชีวภาพดังเดิม เพราะความหลากหลายเหล่านั้น เป็นพื้นฐานของการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมอย่างยั่งยืน
       สังคมไทยมีพื้นฐานมาจาก สังคมเกษตรกรรม และเกษตรกรรมแบบดั้งเดิมต้องพึ่งพาธรรมชาติเป็นหลัก วัฒนธรรมไทยหลายอย่างผูกพันกับการแสดงออกซึ่งความกตัญญูต่อผู้มีพระคุณในการ เพาะปลูก คนไทยแต่โบราณกาลจึงมีความอ่อนน้อมต่อธรรมชาติและผูกพันกับธรรมชาติอย่างแยก กันไม่ออก นับว่าคนไทยมีพื้นฐานเชิงวัฒนธรรมพร้อมมูลอยู่แล้ว
       แม้ว่าการศึกษาสมัยใหม่จะมีการเรียนรู้เกี่ยวกับวิชาการและเทคโนโลยีที่ก้าวหน้า แต่การใช้เทคโนโลยีและวิชาการอย่างไม่เข้าใจหลักการและความสำคัญของสิ่งแวดล้อม ย่อมนำสังคมไปสู่หายนะในระยะยาว แม้ว่าในระยะสั้นจะดูเหมือนว่ามีความเจริญรุ่งเรืองก็ตาม
ที่มา : http://www.swu.ac.th/
                                                                                                                                                                                                                                              
astronomy_up.gif
การอนุรักษ์ความหลากหลายของท้องถิ่น    การอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ ทำได้หลายวิธี  ดังนี้
           1. จัดระบบนิเวศให้ใกล้เคียงตามธรรมชาติ โดยฟื้นฟูหรือพัฒนาพื้นที่เสื่อมโทรมให้คงความหลากหลายทางชีวภาพไว้มากที่สุด
           2. จัดให้มีศูนย์อนุรักษ์หรือพิทักษ์สิ่งมีชีวิตนอกถิ่นกำเนิด เพื่อเป็นที่พักพิงชั่วคราวที่ปลอดภัย ก่อนนำกลับไปสู่ธรรมชาติ เช่น สวนพฤกศาสตร์ ศูนย์เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเค็ม เป็นต้น
           3. ส่งเสริมการเกษตรแบบไร่นาสวนผสม และใช้ต้นไม้ล้อมรั้วบ้านหรือแปลงเกษตร เพื่อให้มีพืชและสัตว์หลากหลายชนิดมาอาศัยอยู่ร่วมกัน ซึ่งเป็นการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพได้


   ทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดำริ
          ทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราช ดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ เป็นรูปแบบใหม่ของเกษตรกรรมแบบธรรมชาติ ในแง่ของชีววิทยา ทฤษฎีนี้นำเสนอกลไกของระบบนิเวศที่มนุษย์สร้างขึ้น โดยที่ในระบบนิเวศนี้มีครอบครัวของมนุษย์อย่างน้อยหนึ่งครอบครัวเป็นองค์ ประกอบหลัก โดยเป็นทั้งผู้สร้างและผู้ควบคุมระบบให้สมดุลให้มากที่สุด โดยการจัดทำและจัดการเกษตรกรรมแบบผสมผสานรวมทั้งการใช้ประโยชน์จากทุกส่วน ภายในระบบให้ครบวงจรมากที่สุด
       ทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ ประกอบด้วยการจัดแบ่ง การใช้ประโยชน์พื้นที่ออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่
   
ส่วนแรก        เนื้อที่ประมาณร้อยละ 30 เช่นถ้ามีที่ดิน 15 ไร่ ก็จะแบ่งให้แก่ส่วนนี้ 3 ไร่ สำหรับขุดเป็นสระน้ำ เพื่อนำน้ำไปใช้ในการเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์น้ำเป็นอาหาร โดยมีความลึกประมาณ 4 เมตร
   
ส่วนที่สอง        เนื้อที่ประมาณร้อยละ 60 เช่น กรณีมีที่ดิน 15 ไร่ ก็มีส่วนนี้ 10 ไร่ เพื่อทำการเกษตร ปลูกพืชผลต่างๆ โดยแบ่งพื้นที่นี้ออกเป็น 2 ส่วน คือ
               -ส่วนที่ 1 ร้อยละ 30 : หรือเนื้อที่ประมาณ 5 ไร่ ทำนาข้าว
               -ส่วนที่ 2 ร้อยละ 30 : หรือประมาณ 5 ไร่ ปลูกพืชไร่หรือพืชสวน ตามแต่สภาพของพื้นที่และภาวะตลาด
   
ส่วนที่สาม
       เนื้อที่ประมาณร้อยละ 10 เช่น กรณีมีที่ดิน 15 ไร่ จะแบ่งเป็นส่วนนี้ประมาณ 2 ไร่ เพื่อปลูกบ้านที่พักอาศัย คอกสัตว์ กองปุ๋ยหมัก กองฟาง โรงเรือน ลานตาก - นวดพืชผล สวนครัว ไม้ร่วมเงา ไม้ดอกไม้ประดับ สวนหย่อม ถนน คันดินหรือคูคลอง และสิ่งก่อสร้างอื่นๆ
       ปัจจุบันมีเกษตรกรนำทฤษฎีใหม่ไปใช้มากขึ้นๆ และพบว่าวิธีนี้สามารถนำไปปฏิบัติได้จริง สามารถประสบผลสำเร็จในระยะเวลาเพียงไม่กี่ปี แม้ในที่ดินที่ไม่อุดมสมบูรณ์ กล่าวคือ ทำให้ครอบครัวเกษตรกรมีสภาพความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น มีฐานะพอมีพอกิน ทฤษฎีใหม่เป็นตัวอย่างของระบบการพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันระหว่างมนุษย์กับ ธรรมชาติด้วยวิธีการหมุนเวียนพลังงานระหว่างสิ่งมีชีวิตภายในระบบ ทำให้ไม่มีของเสียหรือสารพิษตกสู่สิ่งแวดล้อมส่วนรวม ไม่มีสารพิษตกค้างในผลผลิตการเกษตร หรือมีก็เป็นส่วนน้อย เกษตรกรไม่มีหนี้สินจากการที่ต้องลงทุนซื้อวัสดุอุปกรณ์ ปุ๋ยและยาฆ่าแมลงเป็นจำนวนมาก ดังที่เคยทำมาเมื่อทำเกษตรกรรมเพียงด้านเดียว และเกษตรกรยังมีผลผลิตเหลือสำหรับจำหน่ายทำให้มีรายได้เพิ่มอีกด้วย
       ทฤษฎีใหม่ จึงเป็นทางเลือกใหม่ของเกษตรกรไทย เพื่อให้คนไทยมีสภาพความเป็นอยู่อย่างพอมีพอกิน สามารถพึ่งพาตนเองในขั้นพื้นฐานได้ และเมื่อเป็นเช่นนี้แล้วแต่ละครอบครัวย่อมมีกำลังมากพอที่จะช่วยเหลือร่วมมือกันพัฒนาชุมชน ให้เป็นชุมชนที่มีพลังทั้งทางเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม มีพลังสร้างสรรค์และสามารถจัดให้มีบริการต่างๆ เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของสมาชิกในชุมชนนั้น
       การพัฒนาตามทฤษฎีใหม่นี้ เป็นการพัฒนาวิถีชีวิตของการอยู่ร่วมกันอย่างกลมกลืนระหว่างมนุษย์กับ ธรรมชาติ และมนุษย์กับมนุษย์ด้วยกันเองเพื่อความมั่นคงและยั่งยืนของทุกฝ่าย ด้วยวิถีทางของธรรมชาตินั่นเอง
ที่มา : http://www.swu.ac.th/

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น