วันพฤหัสบดีที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2554

เรื่อง พันธุกรรม


ความหมายของพันธุกรรม
            พันธุกรรม  (heredity)  หมายถึง  การถ่ายทอดลักษณะต่าง ๆ  เช่น รูปร่าง หน้าตา สีผม ความสูง ความเตี้ย ฯลฯ จากพ่อแม่ไปสู่ลูกหลานต่อ ๆ  ไป การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมเป็นการสืบพันธุ์  และขยายพันธุ์ในสิ่งมีชีวิตที่มีการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ  เพื่อถ่ายทอดลักษณะต่าง ๆ  จากบรรพบุรุษไปสู่ลูกหลานได้
            ลักษณะทางพันธุกรรม
            พันธุศาสตร์  (genetics)  เป็นวิธีที่ว่าด้วยการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมและการแปรผันทางพันธุกรรม
            ลักษณะทางพันธุกรรม  (genetic  character)  หมายถึง  ลักษณะของสิ่งมีชีวิตที่แตกต่างกันและสามารถถ่ายทอดจากรุ่นหนึ่งไปยังรุ่นต่อไปได้
            ประเภททางลักษณะทางพันธุกรรม
            ลักษณะทางพันธุกรรมมี  2  ประเภท คือ
            1.  ลักษณะทางพันธุกรรมที่มีความแปรผันต่อเนื่อง (continucus variation)  เป็นลักษณะทางพันธุกรรมที่มีความแตกต่างต่อเนื่องกันหลายระดับ เช่น สีผิว น้ำหนักความสูง  เมื่อนำมาเขียนกราฟแสดงความถี่ของลักษณะที่ต่างกันนั้นจะได้กราฟรูปโค้งปกติ
            2.  ลักษณะทางพันธุกรรมทีมีความแปรผันไม่ต่อเนื่อง (discontinuous  variation)    เป็นลักษณะทางพันธุกรรมที่สามารถบอกความแตกต่างเป็นกลุ่ม ๆ  อย่างชัดเจน เช่น คนผิวเผือกกับคนผิวปกติ   แยกได้เป็น  2   กลุ่ม หมู่เลือกของคนคือ หมู่ A,B,AB,และ O  แยกได้เป็น  4  หมู่ เมื่อนำมาเขียนกราฟแสดงความถี่ของลักษณะจะได้กราฟมีลักษณะเป็นกราฟแท่ง





            ลักษณะทางพันธุกรรมกับสิ่งแวดล้อม
            สิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อลักษณะทางพันธุกรรม คือ
1.            สิ่งแวดล้อมภายนอก ได้แก่
-          แสง เช่น ผิวหนังบางคนถูกแสงแดดอาจตกกระได้
-          อุณหภูมิ เช่น ดอกพุดตาน ปกติลอกจะมีสีขาว แต่เมื่ออุณหภูมิสูงขึ้นดอกจะเปลี่ยนเป็นสีชมพู
-          อาหาร เช่น คนถึงแม้มีพันธุกรรมที่ทำให้สูง  แต่ถ้ากินอาหารไม่เพียงพอก็อาจจะไม่สูงมาก
2.            สิ่งแวดล้อมภายใน  ได้แก่
-          เพศ  เช่น สัตว์ตัวผู้จะสวยงามมากกว่าสัตว์ตัวเมีย  แพะตัวเมียให้น้ำนมได้
-          อายุ เช่น การเปลี่ยนสีผมของคนเมื่ออายุมากขึ้น
ลักษณะทางพันธุกรรม
            ลักษณะทางพันธุกรรม คือ  ลักษณะของสิ่งมีชีวิตที่ควบคุมโดยยีนซึ่งสามารถถ่ายทอดจากรุ่นหนึ่งไปยังรุ่นต่อไปได้  เช่น จากพ่อ แม่ ไปสู่ลูกหลาน หรือ จากชั่วหนึ่งสืบต่อเนื่องกันไปเรื่อย ๆ  โดยอาศัยเซลล์สืบพันธุ์เป็นสื่อกลางในการถ่ายทอด  และท่านเกรเกอร์  เมนเดล เป็นบุคคลแรกที่ค้นพบข้อเท็จจริงที่ว่า  ยีนมีการควบคุมการแสดงออกของลักษณะต่าง ๆ  อย่างมีแบบแผนที่ชัดเจน แน่นอน
จากการค้นพบของ เมนเดล และความรู้เกี่ยวกับโครโมโซม  ทำให้เราทราบว่า ยีนที่ควบคุมลักษณะบางอย่างมีอยู่ 2  ชนิด คือ ยีนเด่น และยีนด้อย






0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น